วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของโรตี

ความเป็นมาของคำว่าโรตี 



 โดยทั่วไปแล้ว คำว่า โรตี นั้น อาจหมายถึง ขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์จากแป้งหลากหลายชนิด เช่น จาปาตี และ ผุลกา ซึ่งผลิตภัณฑ์แป้งหรือขนมปังแต่ละอย่างต่างก็มีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไป สำหรับในภาษามราฐี มักจะเรียก โรตี ว่า จาปาตี หรือ โปลี ส่วนในคุชรตี เรียกว่า "โรตลี" ในภาษาปัญจาบีนั้น โรตีชนิดที่รับประทานอย่างง่ายๆ จะเรียกว่า ผุลกา (Phulka) และมักจะใช้เรียกขนมปัง โดยมากจะใช้คำนี้หมายถึง แป้งแบนกลมๆ ไม่ขึ้นฟู อย่างที่รับประทานกันทั่วไปในอินเดีย และปากีสถาน ส่วนแป้งแบบใส่ยีสต์ให้ขึ้นฟูนั้น จะเรียกว่า "นาอัน" (naan) ซึ่งเดิมมีกำหนดจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ และเอเชียกลาง บางครั้ง ชาวตะวันตกจะเรียกโรตีแบบนี้ว่า 'balloon bread' หรือ ขนมปังพอง นั่นเอง ในประเทศไทยนั้น คำว่า "โรตี" หมายถึง แป้งชนิดที่เรียกว่า "ไมดา ปะระถา" ซึ่งในภาษามลายู เรียกว่า "โรตี จะไน" และในสิงคโปร์ เรียกว่า "โรตีประตา" ปกติจะโรยหน้าด้วยนมข้นหวาน น้ำตาลทราย บางครั้งก็ใส่ไข่ไก่ลงไปขณะกำลังทอดแป้งบนกระทะ รับประทานขณะร้อนหรืออุ่น ปัจจุบันมีการทำโรตีหลายรสชาติ ที่นิยมกันมากได้แก่การใส่กล้วยหอม (ครึ่งผล หรือหนึ่งผล) โดยนำมาสับเป็นแว่นเล็กๆ แล้วโรยไปบนแป้งโรตีขณะทอดร้อนๆ นอกจากนี้ยังมีโรตีราดแยมผลไม้ ใส่เครื่องปรุงรสอื่นๆ เช่น ช็อกโกแลต กาแฟ และยังมีโรตีพิซซ่า ซึ่ง เป็นการผสมผสานรสชาติตะวันออกและตะวันตกไว้ด้วยกันอีกด้วยงต้น โรตีในประเทศไทย มีทั้งในร้านอาหาร และขายตามรถเข็น ผู้ขายจะทอดโรตีตามคำสั่งลูกค้า เมื่อปรุงเสร็จ จะพับและม้วนเป็นท่อนยาว ห่อด้วยกระดาษ หากเป็นโรตีที่มีไส้ ก็จะมีการหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆพอดีคำ บรรจุด้วยกล่องโฟม ราดนมข้นและน้ำตาลทราย ปัจจุบันพบว่าผู้ขายจำนวนไม่น้อยเป็นชาวเอเชียใต้ ได้แก่ ชาวปากีสถาน อินเดีย หรือบังคลาเทศ ก็มี ราคาโรตีแต่ละร้านจะแตกต่างกันออกไป เริ่มจาก ธรรมดา ปัจจุบัน พ.ศ.2554 ประมาณ10 บาทขึ้นไป จนกระทั่งแบบมีไส้ราคาถึง 40 บาททีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น