วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของโรตี

ความเป็นมาของคำว่าโรตี 



 โดยทั่วไปแล้ว คำว่า โรตี นั้น อาจหมายถึง ขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์จากแป้งหลากหลายชนิด เช่น จาปาตี และ ผุลกา ซึ่งผลิตภัณฑ์แป้งหรือขนมปังแต่ละอย่างต่างก็มีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไป สำหรับในภาษามราฐี มักจะเรียก โรตี ว่า จาปาตี หรือ โปลี ส่วนในคุชรตี เรียกว่า "โรตลี" ในภาษาปัญจาบีนั้น โรตีชนิดที่รับประทานอย่างง่ายๆ จะเรียกว่า ผุลกา (Phulka) และมักจะใช้เรียกขนมปัง โดยมากจะใช้คำนี้หมายถึง แป้งแบนกลมๆ ไม่ขึ้นฟู อย่างที่รับประทานกันทั่วไปในอินเดีย และปากีสถาน ส่วนแป้งแบบใส่ยีสต์ให้ขึ้นฟูนั้น จะเรียกว่า "นาอัน" (naan) ซึ่งเดิมมีกำหนดจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ และเอเชียกลาง บางครั้ง ชาวตะวันตกจะเรียกโรตีแบบนี้ว่า 'balloon bread' หรือ ขนมปังพอง นั่นเอง ในประเทศไทยนั้น คำว่า "โรตี" หมายถึง แป้งชนิดที่เรียกว่า "ไมดา ปะระถา" ซึ่งในภาษามลายู เรียกว่า "โรตี จะไน" และในสิงคโปร์ เรียกว่า "โรตีประตา" ปกติจะโรยหน้าด้วยนมข้นหวาน น้ำตาลทราย บางครั้งก็ใส่ไข่ไก่ลงไปขณะกำลังทอดแป้งบนกระทะ รับประทานขณะร้อนหรืออุ่น ปัจจุบันมีการทำโรตีหลายรสชาติ ที่นิยมกันมากได้แก่การใส่กล้วยหอม (ครึ่งผล หรือหนึ่งผล) โดยนำมาสับเป็นแว่นเล็กๆ แล้วโรยไปบนแป้งโรตีขณะทอดร้อนๆ นอกจากนี้ยังมีโรตีราดแยมผลไม้ ใส่เครื่องปรุงรสอื่นๆ เช่น ช็อกโกแลต กาแฟ และยังมีโรตีพิซซ่า ซึ่ง เป็นการผสมผสานรสชาติตะวันออกและตะวันตกไว้ด้วยกันอีกด้วยงต้น โรตีในประเทศไทย มีทั้งในร้านอาหาร และขายตามรถเข็น ผู้ขายจะทอดโรตีตามคำสั่งลูกค้า เมื่อปรุงเสร็จ จะพับและม้วนเป็นท่อนยาว ห่อด้วยกระดาษ หากเป็นโรตีที่มีไส้ ก็จะมีการหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆพอดีคำ บรรจุด้วยกล่องโฟม ราดนมข้นและน้ำตาลทราย ปัจจุบันพบว่าผู้ขายจำนวนไม่น้อยเป็นชาวเอเชียใต้ ได้แก่ ชาวปากีสถาน อินเดีย หรือบังคลาเทศ ก็มี ราคาโรตีแต่ละร้านจะแตกต่างกันออกไป เริ่มจาก ธรรมดา ปัจจุบัน พ.ศ.2554 ประมาณ10 บาทขึ้นไป จนกระทั่งแบบมีไส้ราคาถึง 40 บาททีเดียว

Blogger

             บล็อก (BLOG)  คืออะไร
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ 
หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ
 ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
และเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป
 จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ 
เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น 
คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ 
เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก 
สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้
 ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน 
โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
                              ลักษณะของสื่อใหม่

  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย